วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550




ประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อ
ประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อ เป็นงานประติมากรรมตกแต่งระดับศิลปสถานหรือศิลปวัตถุ มีทั้งขนาดเล็กที่ประดับตามฐานเชิงชั้นต่างๆและขนาดใหญ่ที่ประดับบริเวณพุทธสถาน โบสถ์ วิหาร มณฑป เจดีย์ พระปรางค์บุษบก ธรรมาสน์ ในพุทธศาสนา และปราสาทราชมณเฑียร พระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ ประติมากรรมเหล่านั้นแม้เป็นเพียงประติมากรรมตกแต่ง แต่ก็แสดงความหมายให้แนวคิดสะท้อนคติความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ยึดถือคติไตรภูมิเป็นหลัก เปรียบเป็นการจำลองรูปจักรวาลทางพุทธศาสนาโดยถือสถานที่หรือศิลปะนั้นเป็นเขาพระสุเมรุ แกนกลางของจักรวาล ตกแต่งประดับฐานของศิลปสถานหรือศิลปกรรมนั้นด้วยประติมากรรมเป็นภาพหรือภาพประกอบลวดลาย หรือลวดลาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความหมาย เชิงชั้นต่างๆ ในคติไตรภูมิของพุทธศาสนาลดหลั่นสูงต่ำตามความสำคัญของฐานะแห่งชั้นเหล่านั้น คือ ๑. พื้นที่ที่รองรับศิลปะวัตถุหรือศิลปสถานนั้นตั้งอยู่เปรียบเสมือนเป็นมนุษยภูมิ โดยเฉพาะชมพูทวีปอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทั้งหลายนี้ ๒. ฐานชั้นล่างสุดของศิลปวัตถุหรือศิลปสถาน มักเป็นหน้ากระดานสลักลวดลายรองรับฐานสิงห์ บัวหลังสิงห์ อันแปลงมาจากสิงห์ล้อม ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมประเภทบุษบกหรือฐานอาคารสำคัญของชาติ บางทีจะจำหลักเป็นรูปสิงห์ แบกล้อมรอบฐาน ณ ตำแหน่งนี้เป็นสัญลักษณ์ แทนแดนหิมพานต์ แม้จะยังอยู่ในแดนมนุษย์ใน ชมพูทวีป แต่คติทางศาสนายังถือว่าเป็นแดนมนุษย์ที่สงัด สงบ เบาจากกิเลสตัณหา เป็นที่อยู่ของสัตว์ในวรรณคดี และมนุษย์ที่อยู่ในเพศอันบริสุทธิ์ได้แก่ ฤาษี นักบวช หรือมนุษย์ เช่น พวกนักสิทธิ์วิทยาธร ๓. สูงจากฐานสิงห์เหนือบัวหลังสิงห์มักจะเป็นฐานเชิงบาตร ๒ ชั้น คือ ๓.๑ ฐานเชิงบาตรชั้นล่าง ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมหรือศิลปสถานที่สำคัญของชาติ เช่นพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ทอดเหนือพระราชบังลังก์ หรือพระแท่นพระราชบัลลังก์ มหาเศวตฉัตรในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน หรือฐานพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา-รามจะใส่ประติมากรรมรูปครุฑยุดนาคเต็มตัวตั้งรายรอบศิลปกรรมเหล่านั้น ถ้าเป็นศิลปกรรมที่มีความสำคัญรองลงมาหรือฐานโบสถ์ วิหารวัดสามัญฐานเชิงบาตรชั้นล่างจะเป็นเส้นกลมเล็กๆ รัดท้องไม้แล่นไปตลอดศิลปกรรม หรือศิลปสถาน ถ้ามนกลมเรียกว่า "รัดอกลูกแก้ว" ถ้าสันแหลมเรียกว่า "รัดเอวอกไก่" และมักใส่ลวดลายรักร้อยไปโดยตลอด การใช้ครุฑหรือรัดอกลูกแก้ว หรือรัดเอวอกไก่นี้เป็นสัญลักษณ์แทนแดนครุฑที่มีที่อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ เพราะตามตำนานกล่าวไว้ว่าครุฑมีที่อยู่ที่ป่างิ้วในสระชื่อสิมพลีหรือฉิมพลีสระ สระนี้อยู่โคนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาลตามคติไตรภูมิ ๓.๒ ฐานเชิงบาตรชั้นบน ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมหรือศิลปสถานที่สำคัญของชาติ มักจะใส่ประติมากรรมรูปเทวดานั่งคุกเข่าพนมมือ ติดตั้งรายรอบศิลปกรรมเหล่านั้นเช่นกัน หากเป็นศิลปกรรมที่มีความสำคัญรองลงมา ช่างจะประยุกต์รูปแบบเทวดาให้คล้อยตามไปกับส่วนประกอบอื่นๆ ของศิลปวัตถุโดยทำเป็นรูปกระจังเจิมหรือกระจังปฏิญาณ ตรงกลางลายเป็นรูปเทพนม หรือถ้าเป็นโบสถ์หรือธรรมาสน์วัดสามัญ ก็จะประดับด้วยกระจังธรรมดา รูปเทวดาที่นั่งพนมมือ กระจังปฏิญาณ กระจังเจิม หรือกระจังธรรมดาที่ติดเหนือฐานชั้นนี้เป็นรูปสัญลักษณ์ที่ให้ความหมายถึงเทวดาในสวรรค์ชั้นแรก คือสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเหนือยอดเขายุคนธร เป็นเขาที่ตั้งล้อมเขาพระสุเมรุเป็นชั้นแรก เทวดาในชั้นนี้คือท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ พร้อมบริวารที่ปกปักรักษาทิศต่างๆ ของจักรวาลตามคติไตรภูมิ ๔.เหนือจากชั้นฐานเชิงบาตรชั้นบนขึ้นไป ถ้าเป็นโบสถ์วิหารจะเป็นที่ประดิษฐานพระ-พุทธรูป ถ้าเป็นบุษบก บัลลังก์หรือพระที่นั่งจะเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ถ้าเป็นพระเจดีย์หรือพระปรางค์เหนือขึ้นไปจากฐานดังกล่าวจะเป็นเรือนธาตุหรือองค์ระฆังที่บรรจุพระธาตุ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนยอดเขาพระสุเมรุ ที่ประทับของพระอินทร์ ที่ประดิษฐานเจดีย์จุฬามณีอันบรรจุพระเกศมาลา พระธาตุเขี้ยวแก้วของพระ-พุทธองค์ ยอดเขาพระสุเมรุนี้เป็นแกนกลางของจักรวาล



จากคติของการสร้างประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าศิลปวัตถุหรือศิลปสถานเหล่านี้ใช้ สำหรับเป็นที่รองรับเพื่อสำแดงเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ และความเชื่อถือศรัทธาต่อพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ของคนไทยที่ดำเนินมาโดยตลอดแต่โบราณจนปัจจุบันตลอดจนแสดงความหมายถึงความเป็นศิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองด้วย
นอกจากประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อขนาดเล็กประดับติดอาคารศิลปกรรม หรือศิลปวัตถุตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการสร้างประติมากรรมขนาดใหญ่ตกแต่งบริเวณภายในอาณาเขตพุทธสถาน โดยยึดถืออุดมคติสะท้อนความเชื่อทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิเช่นเดียวกัน โดยใช้ภาพประติมากรรมทั้งหลายจำลองออกมาเป็นรูปธรรมที่สร้างถวายสำหรับพระศาสนา เป็นการสืบทอดและเผยแพร่พระศาสนาอีกทางหนึ่งประติมากรรมเหล่านั้นมักจะพบอยู่ตามวัดที่สำคัญเช่น รูปหล่อโลหะสัตว์หิมพานต์ขนาดเท่าคนจริงบนพื้นชานชาลาไพที (การยกพื้นสูงขึ้นมาจากพื้นดิน) ตอนบนรอบปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือรูปนกทัณฑิมา หน้าบันไดทางขึ้นทิศตะวันออกของพระวิหารยอดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และหน้าบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือรูปสางแปลงสำริดตั้งอยู่ปากประตูกำแพงแก้ว พระอุโบสถวัดพระ-เชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ภาพสัตว์หิมพานต์เหล่านี้ล้วนถ่ายทอดคติทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิออกมาเป็นรูปธรรมทางศิลปกรรมคือการจำลองบริเวณพุทธสถานเป็นแดนป่าหิมพานต์ แวดล้อมด้วยสัตว์หิมพานทั้งหลาย เมื่อบุคคลใดเข้าไปในสถานที่หรือบริเวณเหล่านั้นแล้วประหนึ่งก้าวเข้าไปอีกโลกหนึ่งต่างไปจากชีวิตปัจจุบันธรรมดา

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550


งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา

งานปั้นและแกะสลัก ซึ่งจัดเป็นงานแขนงหนึ่งของศิลปะสาขาประติมากรรมซึ่งจัดอยู่ในงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ด จัดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน(Folk Wisdom) ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน วิชาศิลปศึกษา ก ได้นำมาให้ความรู้ และเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น






วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ความงาม

สุนทรียศาสตร์คือ วิชาที่ว่าด้วยความงามซึ่งครอบคลุมถึงความงามในธรรมชาติ และความงามที่มนุษย์
สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรมตลอดจนความงามของกระบวนการสร้างผลงานนั้นๆด้วย

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
1.ส่งเริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
2.ช่วยให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
3.ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
4.ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบรูณาการเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผล
และความรู้สึกที่สอดคล้อง

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
1.ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล มีกระบวนการคิดอย่างสมเหตุสมผล
2.ช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลมีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
3.ช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลสามารถใช้ทั้งศาสตร์และศิลปในการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
4.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลเห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบรูณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อ
ประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อ เป็นงานประติมากรรมตกแต่งระดับศิลปสถานหรือศิลปวัตถุ มีทั้งขนาดเล็กที่ประดับตามฐานเชิงชั้นต่างๆและขนาดใหญ่ที่ประดับบริเวณพุทธสถาน โบสถ์ วิหาร มณฑป เจดีย์ พระปรางค์บุษบก ธรรมาสน์ ในพุทธศาสนา และปราสาทราชมณเฑียร พระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ ประติมากรรมเหล่านั้นแม้เป็นเพียงประติมากรรมตกแต่ง แต่ก็แสดงความหมายให้แนวคิดสะท้อนคติความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ยึดถือคติไตรภูมิเป็นหลัก เปรียบเป็นการจำลองรูปจักรวาลทางพุทธศาสนาโดยถือสถานที่หรือศิลปะนั้นเป็นเขาพระสุเมรุ แกนกลางของจักรวาล ตกแต่งประดับฐานของศิลปสถานหรือศิลปกรรมนั้นด้วยประติมากรรมเป็นภาพหรือภาพประกอบลวดลาย หรือลวดลาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความหมาย เชิงชั้นต่างๆ ในคติไตรภูมิของพุทธศาสนาลดหลั่นสูงต่ำตามความสำคัญของฐานะแห่งชั้นเหล่านั้น คือ


๑. พื้นที่ที่รองรับศิลปะวัตถุหรือศิลปสถานนั้นตั้งอยู่เปรียบเสมือนเป็นมนุษยภูมิ โดยเฉพาะชมพูทวีปอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทั้งหลายนี้
๒. ฐานชั้นล่างสุดของศิลปวัตถุหรือศิลปสถาน มักเป็นหน้ากระดานสลักลวดลายรองรับฐานสิงห์ บัวหลังสิงห์ อันแปลงมาจากสิงห์ล้อม ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมประเภทบุษบกหรือฐานอาคารสำคัญของชาติ บางทีจะจำหลักเป็นรูปสิงห์ แบกล้อมรอบฐาน ณ ตำแหน่งนี้เป็นสัญลักษณ์ แทนแดนหิมพานต์ แม้จะยังอยู่ในแดนมนุษย์ใน ชมพูทวีป แต่คติทางศาสนายังถือว่าเป็นแดนมนุษย์ที่สงัด สงบ เบาจากกิเลสตัณหา เป็นที่อยู่ของสัตว์ในวรรณคดี และมนุษย์ที่อยู่ในเพศอันบริสุทธิ์ได้แก่ ฤาษี นักบวช หรือมนุษย์ เช่น พวกนักสิทธิ์วิทยาธร
๓. สูงจากฐานสิงห์เหนือบัวหลังสิงห์มักจะเป็นฐานเชิงบาตร ๒ ชั้น คือ

๓.๑ ฐานเชิงบาตรชั้นล่าง ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมหรือศิลปสถานที่สำคัญของชาติ เช่นพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ทอดเหนือพระราชบังลังก์ หรือพระแท่นพระราชบัลลังก์ มหาเศวตฉัตรในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน หรือฐานพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา-รามจะใส่ประติมากรรมรูปครุฑยุดนาคเต็มตัวตั้งรายรอบศิลปกรรมเหล่านั้น ถ้าเป็นศิลปกรรมที่มีความสำคัญรองลงมาหรือฐานโบสถ์ วิหารวัดสามัญฐานเชิงบาตรชั้นล่างจะเป็นเส้นกลมเล็กๆ รัดท้องไม้แล่นไปตลอดศิลปกรรม หรือศิลปสถาน ถ้ามนกลมเรียกว่า "รัดอกลูกแก้ว" ถ้าสันแหลมเรียกว่า "รัดเอวอกไก่" และมักใส่ลวดลายรักร้อยไปโดยตลอด การใช้ครุฑหรือรัดอกลูกแก้ว หรือรัดเอวอกไก่นี้เป็นสัญลักษณ์แทนแดนครุฑที่มีที่อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ เพราะตามตำนานกล่าวไว้ว่าครุฑมีที่อยู่ที่ป่างิ้วในสระชื่อสิมพลีหรือฉิมพลีสระ สระนี้อยู่โคนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาลตามคติไตรภูมิ
๓.๒ ฐานเชิงบาตรชั้นบน ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมหรือศิลปสถานที่สำคัญของชาติ มักจะใส่ประติมากรรมรูปเทวดานั่งคุกเข่าพนมมือ ติดตั้งรายรอบศิลปกรรมเหล่านั้นเช่นกัน หากเป็นศิลปกรรมที่มีความสำคัญรองลงมา ช่างจะประยุกต์รูปแบบเทวดาให้คล้อยตามไปกับส่วนประกอบอื่นๆ ของศิลปวัตถุโดยทำเป็นรูปกระจังเจิมหรือกระจังปฏิญาณ ตรงกลางลายเป็นรูปเทพนม หรือถ้าเป็นโบสถ์หรือธรรมาสน์วัดสามัญ ก็จะประดับด้วยกระจังธรรมดา รูปเทวดาที่นั่งพนมมือ กระจังปฏิญาณ กระจังเจิม หรือกระจังธรรมดาที่ติดเหนือฐานชั้นนี้เป็นรูปสัญลักษณ์ที่ให้ความหมายถึงเทวดาในสวรรค์ชั้นแรก คือสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเหนือยอดเขายุคนธร เป็นเขาที่ตั้งล้อมเขาพระสุเมรุเป็นชั้นแรก เทวดาในชั้นนี้คือท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ พร้อมบริวารที่ปกปักรักษาทิศต่างๆ ของจักรวาลตามคติไตรภูมิ ๔.เหนือจากชั้นฐานเชิงบาตรชั้นบนขึ้นไป ถ้าเป็นโบสถ์วิหารจะเป็นที่ประดิษฐานพระ-พุทธรูป ถ้าเป็นบุษบก บัลลังก์หรือพระที่นั่งจะเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ถ้าเป็นพระเจดีย์หรือพระปรางค์เหนือขึ้นไปจากฐานดังกล่าวจะเป็นเรือนธาตุหรือองค์ระฆังที่บรรจุพระธาตุ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนยอดเขาพระสุเมรุ ที่ประทับของพระอินทร์ ที่ประดิษฐานเจดีย์จุฬามณีอันบรรจุพระเกศมาลา พระธาตุเขี้ยวแก้วของพระ-พุทธองค์ ยอดเขาพระสุเมรุนี้เป็นแกนกลางของจักรวาล จากคติของการสร้างประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าศิลปวัตถุหรือศิลปสถานเหล่านี้ใช้ สำหรับเป็นที่รองรับเพื่อสำแดงเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ และความเชื่อถือศรัทธาต่อพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ของคนไทยที่ดำเนินมาโดยตลอดแต่โบราณจนปัจจุบันตลอดจนแสดงความหมายถึงความเป็นศิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองด้วย นอกจากประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อขนาดเล็กประดับติดอาคารศิลปกรรม หรือศิลปวัตถุตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการสร้างประติมากรรมขนาดใหญ่ตกแต่งบริเวณภายในอาณาเขตพุทธสถาน โดยยึดถืออุดมคติสะท้อนความเชื่อทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิเช่นเดียวกัน โดยใช้ภาพประติมากรรมทั้งหลายจำลองออกมาเป็นรูปธรรมที่สร้างถวายสำหรับพระศาสนา เป็นการสืบทอดและเผยแพร่พระศาสนาอีกทางหนึ่งประติมากรรมเหล่านั้นมักจะพบอยู่ตามวัดที่สำคัญเช่น รูปหล่อโลหะสัตว์หิมพานต์ขนาดเท่าคนจริงบนพื้นชานชาลาไพที (การยกพื้นสูงขึ้นมาจากพื้นดิน) ตอนบนรอบปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือรูปนกทัณฑิมา หน้าบันไดทางขึ้นทิศตะวันออกของพระวิหารยอดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และหน้าบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือรูปสางแปลงสำริดตั้งอยู่ปากประตูกำแพงแก้ว พระอุโบสถวัดพระ-เชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ภาพสัตว์หิมพานต์เหล่านี้ล้วนถ่ายทอดคติทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิออกมาเป็นรูปธรรมทางศิลปกรรมคือการจำลองบริเวณพุทธสถานเป็นแดนป่าหิมพานต์ แวดล้อมด้วยสัตว์หิมพานทั้งหลาย เมื่อบุคคลใดเข้าไปในสถานที่หรือบริเวณเหล่านั้นแล้วประหนึ่งก้าวเข้าไปอีกโลกหนึ่งต่างไปจากชีวิตปัจจุบันธรรมดา
ธรรมาสน์ศาลาการเปรียญวัดราชสิทธาราม เปรียบเป็นการจำลองจักรวาลทางพุทธศาสนา โดยถือเอาธรรมาสน์เป็นเขาพระสุเมรุ แกนกลางของจักรวาล ศิลปะสมัย
อู่ทอง


ประติมากรรมกตแต่งสะท้อนความเชื่อที่ฐานธรรมาสน์ศาลาการเปรียญ วัดราชสิทธารามศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์


ฤาษีดัดตน หล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุก ตั้งอยู่ตามเขาบริเวณศาลารายทางทิศใต้ของพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์